Some spaces to share

Category: General (Page 1 of 4)

[TED Talks – Week 30] Why you think you’re right — even if you’re wrong | Julia Galef

ผมมองว่า Talk วันนี้เกี่ยวข้องอย่างมากกับปัญหาหนึ่งที่คนไทยกำลังเผชิญ นั่นคือ การใช้อคติในการรับข้อมูลข่าวสาร คำว่า อคติ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าสิ่งไม่ดี แต่หมายถึงการที่เราเอาใจที่ไม่เป็นกลางเข้าไปตัดสิน สนับสนุน หรือคัดค้าน ข้อมูลที่มีหรือข่าวสารที่เราได้รับ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราชื่นชมคน ๆ หนึ่งมาก ๆ แบบนับถือเป็นไอดอล ทำตามแบบอย่างเขาทุกอย่าง แล้ววันหนึ่งมีคนมาบอกเราว่า จริง ๆ แล้วเขาไม่ใช่คนดีอย่างที่เราคิด เขาคดโกง เอาเปรียบคนอื่นมากมายกว่าจะมาถึงจุดนี้ แน่นอนครับ ปฏิกริยาต่อข้อมูลนี้ของคนส่วนใหญ่ ก็คือต่อต้านแน่นอน จะยอมให้ใครมาด่าไอดอลของเราได้ไง เราจะพยายามหาข้อมูลทุกอย่างมาหักล้างข้อกล่าวหาเหล่านั้น ในทางกลับกัน ถ้ามีคนมาเล่าเรื่องดี ๆ ของคน ๆ นี้ให้เราฟัง เราก็จะเชื่อแทบจะทันที โดยไม่พิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลแต่อย่างใด Julia Galef Speaker ของเราในวันนี้จะมาอธิบายถึงปรากฏการณ์นี้ให้ฟัง แถมด้วยข้อเสนอแนะเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ช่วยให้เรามองโลกตามความเป็นจริงมากขึ้น ลองไปดูกันเลยครับ

Continue reading

[TED Talks – Week 29] The art of misdirection | Why social media “likes” say more than you might think

สวัสดีครับทุก ๆ คน เข้าใจว่าห่างหายไปนานพอสมควร แต่จะพยายามตามเก็บชดเชยให้ครบแน่นอนครับ สำหรับวันนี้ผมมาพร้อมกับคลิปสั้น ๆ 2 คลิปครับ

คลิปแรกเป็นคลิปที่มียอดแชร์สูงมากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาบน Facebook แต่เมื่อผมลองตรวจสอบดูก็พบว่าเป็นคลิป TED เก่าเมื่อปี 2013 ถึงเวลาจะผ่านไปหลายปี แต่ความตื่นตาตื่นใจของ Talk นี้ก็ยังคงเหมือนเดิม Talk นี้เป็นเรื่องราวของการเบี่ยงเบนความสนใจ ซึ่งเป็นเทคนิคที่บรรดานักลวงกระเป๋าทั้งหลายชอบใช้ การทำให้เราหันความสนใจไปทางอื่น และใช้ประโยชน์จากช่องว่างที่หละหลวมช่วงนั้น Apollo Robbins Speaker ของเราในคลิปนี้นอกจากจะมาอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ฟังแล้ว ยังแสดงสด ๆ ให้ดูอีกด้วย เราลองไปทึ่งพร้อม ๆ กันเลยครับ

สำหรับคลิปที่สอง เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลบน Social Media อย่างที่หลาย ๆ คนรู้กันว่า บรรดา Interaction ต่าง ๆ ที่เราได้ทำบนโลกโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ คอมเมนท์ กดไลก์ กดแชร์ หรือแม้แต่กดลิ้งก์ ทุกอย่างทุกเก็บบันทึกไว้หมด ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงการนำเสนอ content บนเว็บให้เหมาะกับผู้ใช้แต่ละคนมากที่สุดนั่นเอง แต่เคยมั้ยที่รู้สึกว่า เว็บไซต์มันรู้ความต้องการของเรา ทั้ง ๆ ที่เรายังไม่ได้บอกอะไรเลย บางที รู้ดีกว่าตัวเราเองด้วยซ้ำ แล้วแบบนี้เราจะยังมีความปลอดภัยหรือไม่ จะถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือเปล่า ลองไปฟัง Talk นี้ แล้วลองคิดดูว่าเราน่าจะเปลี่ยนวิธีการใช้ Social Media ของเราหรือเปล่า เชิญครับ

Continue reading

[TED Talks – Week 28] The brain in love | Helen Fisher

วิทยาศาสตร์ พยายามหาคำอธิบายให้กับทุก ๆ อย่างบนโลกนี้ ไม่เว้นแม้แต่ความรัก หนึ่งในสิ่งที่เป็นนามธรรมที่สุด ไม่มีใครรู้ว่าทำไมเราถึงรักคน ๆ นึงได้ขนาดนั้น ทำไมถึงต้องรักคนที่เขาไม่รักเรา หรือทำไมเราไม่ได้รักคนที่รักเรามาก ๆ และทำไมความรักถึงได้มีพลังรุนแรงขนาดทำให้คนฆ่าตัวตาย หรือลุกขึ้นมาฆ่าคนอื่นได้ Helen Fisher นักมนุษยวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านความรัก พยายามหาคำอธิบายของคำถามเหล่านี้ด้วยวิทยาศาสตร์ โดยการ scan ดูสมองของผู้ที่สมหวังและผิดหวังในความรัก ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในคลิปเลยครับ

Continue reading

[TED Talks – Week 27] The beautiful math behind the world’s ugliest music | Why I’m a weekday vegetarian

สวัสดีทุก ๆ ท่านครับ วันนี้ขอมาพร้อมกับสองคลิปสั้น ๆ เนื้อหาเบาสมอง ให้ได้รับชมกันครับ

สำหรับคลิปแรกเป็นการพูดถึงดนตรีกับคณิตศาสตร์ ศาสตร์และศิลป์ทีดูเหมือนจะวิ่งหนีออกจากกันอย่างสิ้นเชิง แต่ Scott Rickard ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์และ Speaker ของเราในคลิปนี้ ได้นำความรู้คณิตศาสตร์มาสร้างสรรค์เพลงที่อัปลักษณ์ที่สุดในโลก ซึ่งเขาเชื่อว่าไร้ซึ่งความไพเราะใด ๆ แล้วเขารู้ได้ยังไงหละว่ามันจะไม่เพราะ จริง ๆ แล้วมีทฤษฎีทางดนตรีระบุว่าความไพเราะนั้นเกิดจากการเล่น pattern ซ้ำ ๆ กัน อาจมีแหวกแนวให้ตื่นเต้นบ้าง แต่ Scott จะใช้คณิตศาสตร์ในการสร้างเพลงที่รับประกันว่าไม่มี pattern อะไรเลยขึ้นมา จะออกมาเป็นอย่างไร ฟังได้หรือไม่ รับชมได้ในคลิปครับ

สำหรับคลิปที่สอง เราทุกคนต่างรู้ว่าการทานผักเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ และเราสามารถทานอาหารมังสวิรัติได้โดยยังคงได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ทุกประการ แต่ถ้าถามว่าจะให้ทานมังสวิรัติไปตลอดชีวิตจะเอามั้ย จะมีสักกี่คนที่ยอมรับเงื่อนไขนี้ Graham Hill นักหนังสือพิมพ์และ Speaker ในคลิปนี้ พยายามหาทางเลือกตรงกลางให้กับตัวเองและไม่ทำร้ายความอยากกินเนื้อของเขามากเกินไป เขาจริงเสนอ Campaign Weekday Veg มังสวิรัติทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เขาทำแบบนั้น แล้วทำแล้วได้ผลอย่างไรบ้าง ลองไปฟังในคลิปที่สองครับ

Continue reading

[TED Talks – Week 26] What can we learn from shortcuts? | Tom Hulme

“ทางลัด” เป็นสิ่งที่คนเรามักพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นแนวทางเดินที่ตัดผ่ากลางสนามหญ้าเพื่อไปให้ถึงที่หมายอีกฝั่งได้เร็วขึ้น ทางลัดจึงเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่าการออกแบบของสถาปนิก กับความต้องการของผู้ใช้จริง ๆ ไม่ตรงกัน Tom Hulme นักออกแบบซึ่งเป็น speaker ของเราในคลิปนี้ จะมาเล่าให้ฟังว่า เราเรียนรู้อะไรจากทางลัดได้บ้าง เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เขานำมาเล่าไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะในสาขาสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์กับการออกแบบในวงการอื่น ๆ อีกด้วย

Continue reading

[TED Talks – Week 25] Who are you, really? The puzzle of personality | Brian Little

บุคลิกที่แตกต่างกันของมนุษย์แต่ละคนเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักจิตวิทยามาเป็นเวลานาน หนึ่งในความสนใจเหล่านั้น คือ การพยายามแบ่งลักษณะนิสัยของคนออกเป็นกลุ่ม ๆ ในมิติต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์นั้นมีทั้งธรรมชาติทางชีววิทยา ธรรมชาติทางสังคม และธรรมชาติของปัจเจกบุคคล ด้วยเหตุนี้ ทำให้เราแต่ละคน ไปเหมือนกับคนอีกหลายคนในบางมุม เหมือนกับคนบางคนในบางมุม และไม่เหมือนกับใครเลยในบางมุม ลองไปฟังเรื่องนี้เต็ม ๆ จาก TED Talks ในวันนี้กันเลยครับ

Continue reading

[TED Talks – Week 24] The paradox of choice | Barry Schwartz

หลายคนเชื่อว่าบ้านเมืองที่ประชาชนจะมีความสุขได้ คือ บ้านเมืองที่ประชาชนมีอิสรภาพในการเลือกและตัดสินใจ นั่นหมายความว่า ยิ่งมีตัวเลือกมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงถึงอิสรภาพที่มีมาก และความสุขที่น่าจะมีมากขึ้นด้วยของประชาชน ข้อความนี้ดูเหมือนจะเป็นจริง แต่หากเรามีตัวเลือกมากเกินไป สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาอาจไม่ใช่ความสุข แต่เป็นภาระในการเลือก และความคาดหวังในสิ่งที่ดีที่สุดจากตัวเลือกทั้งหมด และนั่นส่งผลกระทบต่อความสุขของเราโดยตรง และ Barry Schwartz ผู้แต่งหนังสือ The Paradox of Choice – Why More Is Less จะมาเล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ฟังใน Talk ลองไปฟังกันดูครับ

Continue reading

[TED Talks – Week 23] The Chinese zodiac, explained | Why you should care about whale poo

ขอโทษเป็นอย่างยิ่งที่หายไปนานมากกกกกกครับ เนื่องด้วยมีโปรเจคและงานต้องทำเป็นจำนวนมาก ครั้งนี้เลยถือโอกาสมาสะสางและผมจะตามเก็บ post ที่ค้างไว้ ให้ครบทุกสัปดาห์เหมือนเดิมครับ สำหรับวันนี้มาพร้อมกับ 2 คลิปสั้น ๆ อีกครั้งนะครับ

คลิปแรก พูดถึงเรื่อง zodiac ของจีน ถ้าพูดถึง zodiac ในตอนแรกเราอาจจะนึกถึงราศีมังกร กุมภ์ มีน เมษ … แต่ zodiac ที่ ShaoLan พูดในคลิปนี้หมายถึง Chinese Zodiac หรือความเชื่อเกี่ยวกับนักษัตรทั้ง 12 ที่เริ่มต้นมาจากชาวจีนนั่นเองครับ ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เป็นแค่ความเชื่อ และดูเหมือนว่าจะไม่ได้สำคัญอะไร แต่อย่าลืมว่าความเชื่อนี้เกิดขึ้นกับประเทศจีนซึ่งมีประชากรมากที่สุดในโลก และนั่นก็ส่งผลกระทบกับความเป็นไปของทั้งคนจีนเองและของโลกเราด้วย จะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามชมครับ

สำหรับคลิปที่สอง Asha de Vos นักอนุรักษ์ปลาวาฬ ได้มาชี้ให้เห็นจุดประสงค์สำคัญที่ทำให้เหล่านักอนุรักษ์ต้องออกมาปกป้อง Northern Indian Ocean blue whales คนทั่วไปอาจนึกว่าพวกเขาออกมาปกป้องเพราะชอบในความมีเสน่ห์หรือความสง่างามของมัน แต่จริง ๆ แล้ว มันมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอุจจาระของมัน จะเป็นอย่างไรนั้น เชิญรับชมครับ


Continue reading

[TED Talks – Week 22] Drawings that show the beauty and fragility of Earth | Zaria Forman

สวัสดีครับ สำหรับ TED Talks ในสัปดาห์นี้เป็นคลิปสั้น ๆ ที่จะช่วยให้เราได้ผ่อนคลายไปกับความสวยงามของศิลปะ และทำให้ได้ตระหนักถึงภัยอันตรายที่กำลังค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงโลกนี้ (ซึ่งไม่ได้ช้าอย่างที่คิด) Zaria Forman ศิลปินเจ้าของงานนิทรรศการภาพวาดคลื่นทะเลและภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ ซึ่งหลาย ๆ แห่งเป็นภาพที่เธอตระเวนเก็บมาสู่ความทรงจำจากหลายพื้นที่ทั่วโลกและนำมาถ่ายทอดเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสวยงามและความรุนแรงของภาวะโลกร้อนที่กำลังเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศเหล่านี้ไป เธอเชื่อว่า งานศิลปะของเธอจะสร้างแรงกระตุ้นให้คนมาสนใจปัญหานี้ได้ดีไม่แพ้ตัวเลขสถิติหรือบทความวิชาการเลย ลองไปชมกันครับ

Continue reading

[TED Talks – Week 21] This scientist can hack your dreams | “Am I dying?” The honest answer.

ขออภัยที่สัปดาห์นี้มาช้านะครับ เพิ่มผ่านศึกหนักคือการสอบ TOEFL ไป รอลุ้นผลอีกสองสัปดาห์ครับผม วันนี้มาพร้อมกับสองคลิป ยาวหนึ่ง สั้นหนึ่งครับ

คลิปแรก พูดถึงวิทยาการด้าน Neuroscience หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ Neuron หรือก็คือเซลล์ประสาทของคนเราที่ใช้ในการส่งสัญญาณต่าง ๆ ไปทั่วร่างกาย Speaker ของเรา Moran Cerf Neuroscientist เป็นผู้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC ไปอย่างไม่ได้ตั้งใจว่า “การบันทึกความฝันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ (ในทางทฤษฎี)” และเรื่องราวของเขาก็เป็นข่าวดังไประยะหนึ่ง จนในที่สุด เขาและทีมก็หันกลับมาไล่ตามความเป็นไปได้นี้อีกครั้ง เรามาดูกันว่าหลังจากเขาได้ให้สัมภาษณ์ไป 5 ปี ความก้าวหน้าทางด้านนี้เป็นอย่างไรบ้าง น่าทึ่งมากทีเดียวครับ

สำหรับคลิปที่สอง ก็น่าประทับใจไม่แพ้กันครับ Speaker ก็คือ Matthew O’Reilly ผู้ที่ทำการรักษาให้กับผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินมานับครั้งไม่ถ้วน และเขาก็ต้องเจอกับคำถามที่ว่า “ผมกำลังจะตายใช่มั้ย” นับครั้งไม่ถ้วน ถ้าคุณรู้ว่าคนที่กำลังถามคุณกำลังจะตายจริง ๆ คุณจะพูดความจริงหรือโกหกครับ Matthew เคยทำมาแล้วทั้งสองวิธี และด้วยประสบการณ์ของเขา ทำให้รู้ว่าถ้าคน ๆ หนึ่งรู้ว่าตนกำลังจะตายในอีกไม่ช้า สิ่งที่พวกเขานึกถึงจะมีเพียง 3 แบบใหญ่ ๆ เท่านั้น เดากันได้มั้ยครับว่า ก่อนคนเราจะตาย มักมีความกังวลอะไรเหลืออยู่ ลองไปชมดูครับ


Continue reading

« Older posts

© 2025 PLKumjorn

Theme by Anders NorenUp ↑